General Practice

ปี พ.ศ. 2539 นพ.นภดล ได้รับทุนจากทบวงมหาวิทยาลัย ในโควต้าของ ม.นเรศวร
เนื่องจากได้จัดทำ Course Syllabus ของวิชาเวชศาสตรชุมชน 1 สำหรับนิสิตแพทย์ปี 2
ซึ่งเป็นนิสิตแพทย์รุนแรกจำนวน 30 คน
(ไม่ต้องประชุมกันหลายครั้ง เพราะปรึกษากับ นพ.ไพจิตร ปวะบุตร และเชิญ นพ.ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นพ.บดิ ธนะมั่น จากคณะแพทย์จุฬามาสอนนิสิต)
เป็นภาควิชาแรกของ ของมหาวิทยาลัย ภาควิชาอื่นทำได้ช้ากว่า
เพราะภาควิชาอื่น มีอาจารย์ประจำภาควิชาหลายคน จึงต้องประชุมกันหลายครั้ง
(อธิการบดี ม.นเรศวร บอกอาจารย์คนอื่นๆว่า ทุนจากทบวงมหาวิทยาลัยมีเพียง 1 ทุน จึงให้ รพ.พุทธชินราช
และ ม.นเรศวร จะจัดสรรทุนให้อาจารย์ของมหาวิทยาลัย อีก 7 ทุนเพิ่มเติม)

ทุนจากทบวงมหาวิทยาลัยเรียกว่า "ทุนฝึกอบรมระยะสั้น" คือ 3 เดือน เมษายนถึงมิถุนายน 2539
เนื่องจากต้องการรู้ว่า นิสิตแพทย์เรียนอะไร จัดการสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร (OLE)
ให้ดูงานที่มหาวิทยาลัย Monash University, Melbourne, Australia
ได้เข้าฟังในห้องเรียนของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัย Monash University (Clayton Campus)
และที่ General Practice site ที่ East Bentleigh ซึ่ง Prof. John Murtagh เป็นผู้สอน
(ได้เห็นทั้ง Contents และ Education Climate)
มีนิสิตแพทย์ปี 3, 4, 5 มีการสอบ OSCE และได้ทดลองเข้าห้องสอบ ทำข้อสอบชนิด MEQ
วิชาที่นิสิตแพทย์เรียน เช่น Men’s Health, Women Health, Consultation Skill
ไม่ได้แยกส่วนเป็นแต่ละระบบ เช่น ระบบหายใจ ระบบใหลเวียนของเลือด
หรือแยกตามแผนก เช่น สูติ ศัลย์ Med เด็ก เหมือนที่ประเทศไทยใช้อยู่
(หลักสูตรแพทย์ใหม่ ของ ม.นเรศวร ปี 4,5,6 ที่ รพ.พุทธชินราช จะเริ่มใช้ระบบนี้ ปี 2552)

ในวัน Mother’s Day เดือน พฤษภาคม Prof. Murtagh ได้พาไป ที่ตำบล Nugee
ซึ่งเป็นตำบล ในชนบท ที่มีประชากร 1,200 คน 400 ครอบครัว ที่เมื่อก่อนหน้านี้ Prof. เคยทำงานอยู่
Prof. Murtagh บอกว่าจำผู้ป่วยได้ทุกคน เช่น คนนั้นเคยแขนหัก คนใหนเคยป่วยโรคอะไร
ภรรยา ของ Prof เป็นกุมารแพทย์ ชื่อ Jill ไปด้วยกัน
Prof. บอกว่า ”It is not easy to be a general practice, general practice very humble isn’t it.”

“การทำงานเป็นแพทย์ General Practice นั้นไม่ใช่งานง่ายๆ และคำว่า General ก็เป็นการถ่อมตัวว่าเป็นแพทย์ทั่วๆไป”

Prof. Murtagh แต่งตำราเรื่อง General Practice ได้มอบให้ผมมา 1 เล่ม
และตำราเล่มนี้ ก็มีอยู่แล้วที่ห้องสมุด รพ.พุทธชินราช และอีกคราวหนึ่งได้ Prof. Murtagh ได้เชิญไปกินอาหารกลางวันที่บ้านของ Prof. เอง
Jill ได้ทดลองทำอาหารไทย เป็นแกงเขียวหวาน
อาหารไทยเป็นที่นิยมใน Australia แกงเขียวหวานในร้านอาหารไทยในออสเตรเลีย
ราคาประมาณ 12-15 เหรียญ ในขณะที่ Ham Burger ราคาอันละ 4-5 เหรียญ (1 Aus$ = 30 บาท)
ร้านอาหารไทยใน Australia คนนิยมมาก ถ้าไม่ได้โทรจองที่ไว้จะพบว่าโต๊ะถูกจองไว้หมดแล้ว

MANAGEMENT INTERVIEW: THE SEQUENCE

  1. Tell patient the diagnosis
  2. Establish patient’s knowledge
  3. Establish patient’s attitude
  4. Educate the patient
  5. Develop a management plan for
    the presenting problem:
    (immediate, long term & preventive)
  6. Explore other preventive opportunities
  7. Reinforce, involving the patient
  8. Provide take away information
  9. Evaluate the consultation
  10. Arrange follow up

ต่อมา พ.ศ.2541 ได้พาคณะอาจารย์แพทย์จาก รพ.พุทธชินราช ประมาณ 10 คน
ไปดูการเรียนการสอนที่ East Benthleigh, Monash University, Clayton, Melbouene, Australia
และไปดูงานที่ Riverland, Adeleide เรื่องการสอนนิสิตแพทย์โดยโรงพยาบาลขนาดเล็ก
และแบบที่นิสิตแพทย์เรียนในโรงเรียนแพทย์ที่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่
เป็นการจัดการสอน 2 แบบ พร้อมๆกันไป เรีบกว่าโครงการ Parallels Curriculum

[17 ก.พ. 2544 ทักษิณเป็นรัฐบาล มีหลักประกันสุขภาพ UC]

อีก 5 ปีต่อมา พ.ศ.2546 ได้พาคณะอาจารย์แพทย์จาก รพ.พุทธชินราช ประมาณ 25 คน
ไปดูการเรียนการสอนที่ East Benthleigh, Clayton, Melbouene, Australia
คราวนี้ Prof. Murtagh อายุมากแล้ว Retire แล้วไม่ได้เป็นหัวหน้าหน่วยงาน
แต่ก็ยังคงเป็นอาจารย์สอนนิสิตแพทย์อยู่
และไปดูงานโครงการ Parallels Curriculum ที่ Riverland, Adeleide ซึ่งได้นำเสนอว่า
นิสิตแพทย์ที่เรียนที่โรงพยาบาลเล็กๆ สอบได้คะแนนดีกว่านิสิตที่เรียนจากโรงพย่าบาลใหญ่ๆ
(ในโครงการ Parallel Curriculum ของ River Land)


[Back]