การแบ่งงานของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม พ.ศ. 2543
งานรักษาพยาบาลชุมชน
งานส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค
งานบริการสุขภาพชุมชน (บางโรงพยาบาลแยกออกเป็นกลุ่มเวชศาสตร์ครอบครัว)
งานอาชีวเวชกรรม (โรงพยาบาลในเขตอุตสาหกรรมได้แยกออกเป็นกลุ่มงานอาชีวเวชกรรมจำนวน 40 แห่ง
จาก รพศ/รพท รวมประมาณ 90 แห่ง)
งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
งานสุขศึกษาแยกออกจาก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม เป็นกลุ่มงานสุขศึกษา พ.ศ.2544
งานสังคมสงเคราะห์แยกออกจาก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม เช่นเดียวกันกับงานสุขศึกษา
ติดตามกรอบโครงสร้างกลุ่มงานเวชกรรมสังคม จาก Webboard : Updated มกราคม 2553
1. งานรักษาพยาบาลชุมชน
1 งานรักษาพยาบาลชุมชนและบริการพยาบาลแก่ผู้ป่วยกลุ่มพิเศษต่างๆ
- Home Health Care
- หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่
- จัดบริการพยาบาลแก่กลุ่มเฉพาะ เช่น
โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ ยาเสพติด ผู้สูงอายุ ผู้พิการในชุมชน
- งานจัดบริการรักษาพยาบาลและสนับสนุนโครงการพิเศษต่างๆ
การตรวจสุขภาพในชุมชน โรงเรียน โรงงาน การค้นหาคัดกรองผู้ป่วย
2 งานสาธารณสุขในเขตเมืองและสนับสนุนงานสาธารณสุขต่างๆ
- งานสาธารณสุขมูลฐาน
- งานพัฒนาสถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชน Primary Care Unit (PCU) และระบบเวชปฏิบัติครอบครัว (Family Medicine)
- บริการส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคตามปัญหาสาธารณสุข
- สนับสนุนการดำเนินงานของ คณะทำงานประสานงานสาธารณสุขอำเภอ (คปสอ)
- งานประสานระบบส่งต่อและงานรักษาพยาบาลทางวิทยุ
3 งานโครงการพิเศษอื่นๆ เช่นงานประกันสุขภาพ ประกันสังคม คุ้มครองผู้บริโภด HFA อื่นๆ
2. งานส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค
งานส่งเสริมสุขภาพ
- งานอนามัยแม่และเด็ก
- งานวางแผนครอบครัว
- งานโภชนาการ
- งานอนามัยโรงเรียนและงาน สสม ในโรงเรียน
- งานทันตสาธารณสุข
- งานสุขภาพจิต
งานป้องกันและควบคุมโรค
- รวบรวมข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขด้านควบคุมโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดบริการด้านควบคุมป้องกันโรคในเขตพื้นที่รับผิดชอบและระดับจังหวัดและระดับเขตด้วย
- สอบสวนโรคที่กำหนดให้เฝ้าระวังและควบคุมโรคให้ทันเวลาป้องกันการแพร่กระจายของโรค พาหะนำโรคการรายงานการเกิดโรด และศึกษาการระบาดของโรค โดยศึกษาสาเหตุปัจจัยการเกิดโรคและที่เอื้อต่อการเกิดโรค
- จัดบริการสาธารณสุขเชิงรุกให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มด้อยโอกาส
เช่น การจัดบริการสาธารณสุขให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด การควบคุมโรคในโรงพยาบาล ชุมชน จังหวัดและระดับเขต ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง วัณโรค โรคติดต่ออื่นๆ และโรคไม่ติดต่อ
- การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการสร้างหลักสูตรในการอบรมและนำไปขยายผลในระดับจังหวัดและระดับเขต
- การนิเทศงานติดตามประเมินผลในระดับต่างๆ สถานีอนามัย รพท รพศ
- การกำหนดมาตรฐานงานในการดำเนินงานโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ
- การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการควบคุมโรค งานโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ เพื่อนำไปพัฒนางานบริการบริการสาธารณสุข ในกลุ่มเป้าหมายให้มีคุณภาพ
3. งานอาชีวเวชกรรม
งานอาชีวเวชกรรม (Occupational Medicine)
เป็นองค์ประกอบหนึ่งของงานอาชีวอนามัย (Occupational Health) ซึ่งหมายถึง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของคนที่ทำงานในทุกสาขาอาชีพ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
งานอาชีวเวชกรรม
เป็นงานหนึ่งของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งทำหน้าที่จัดบริการเชิงรุก
เพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยง และจัดบริการตั้งรับแบบผสมผสาน ร่วมกับกลุ่มงานเทคนิคบริการอื่นๆ
ในโรงพยาบาล
1. งานบริการในโรงพยาบาล
- การตรวจวินิจฉัยโรคจากการทำงานและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษา
- การตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน
- การเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน อุบัติเหตุจากการทำงาน
- การสอบสวนโรค
- การอบรมความรู้ทางวิชาการแก่บุคลากรในหน่วยงานและประชาชนทั่วไป
- เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานอาชีวเวชกรรม
2. งานบริการนอกโรงพยาบาล
- จัดบริการสาธารณสุขในกลุ่มคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกร
- จัดบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ
- ยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมตัวอย่างตามเกณฑ์มาตรฐาน
- สอบสวนโรคและควบคุมป้องกันโรคจากการทำงาน
3. งานสาธารณสุขมูลฐาน
สนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน และความปลอดภัยในการทำงานโดย
- สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรอาสาสมัครสาธารณสุข
- สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
- ฝึกอบรมความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขโรงงาน
- นิเทศติดตาม ยกระดับโรงงานตัวอย่างตามเกณฑ์มาตรฐาน
4. งานประสานงาน
- ประสานงานกับหน่วยงานในโรงพยาบาล เช่น งานประกันสังคม งานชันสูตร
- ประสานงานกับหน่วยงานนอกโรงพยาบาล เช่น แรงงานจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด
5. งานค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการในงานอาชีวเวชกรรม
6. งานฝึกอบรม
ฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่ พยาบาลประจำโรงงาน
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย แพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าทีสาธารณสุขที่ดำเนินการ
ให้บริการแก่สถานประกอบการต่างๆ
[Back]